คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานฯ ในการประกวดรางวัลพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space 2023 ณ โรงแรม M2 Hotel Waterside จังหวัดพะเยา
ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยคณะเกษตร ม.พะเยา โครงการวิจัยเรื่อง "การยกระดับเศรษฐกิจร่วมไทย-ลาว ผ่านการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าโคเนื้อคุณภาพ เพื่อความยั่งยืนของพื้นที่เมืองชายแดนพะเยา เชียงราย"
ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยได้รับอนุมัติทุนอุดหนุนโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (แนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรรม
วันที่ 8 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดโครงการ " พัฒนาผลงานวิจัยสู่การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ " ณ ห้องประชุมคณะเกษตรศาสตร์ฯ นำโดยคณบดี, รองคณบดี, คณาจารย์, นักวิจัย เข้าร่วมโครงการดังกล่าวฯ โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมจำนวน 40 ท่าน และมอบใบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติประจำปีงบประมาณ 2565 (Super KPI) จำนวน 17 ท่าน
คณะเกษตรศาสตร์ฯ ลงพื้นที่มอบปลาให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ นวัตกรรมการเลี้ยงปลาขนาดเล็กที่เสริมโอเมก้า-3 วันที่ 16 กันยายน 2564 คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่มอบปลาให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ นวัตกรรมการเลี้ยงปลาขนาดเล็กที่เสริมโอเมก้า-3 นำโดย ผศ. ดร.เกรียงไกร สีตะพันธุ์ พร้อมด้วย นายเศกสรรค์ อุปพงศ์ และนางสาวอาทิตยา วงศ์วุฒิ นิสิตปริญญาโท (หลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมประมง) สาขาวิชาการประมง ลงพื้นที่ดังกล่าวฯ
การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาชลประทานโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยในการคัดเลือก: การประเมินผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไม่ไวต่อช่วงแสง ที่พัฒนาจากข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 (ปีที่ 2)
คณะเกษตรฯ ม.พะเยา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารโคเนื้อด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อ วันที่ 7-11 สิงหาคม 2565 คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยานำโดย รศ.ดร.โชค โสรัจกุล พร้อม ดร.ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ ลงพื้นที่จังหวัดสระแก้วเพื่อร่วมอบรมและให้บริการวิชาการแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในอำเภออรัญประเทศ โคกสูง และ วัฒนานคร ภายใต้โครงการ “การการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารโคเนื้อด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดสระแก้ว” ร่วมกับ สวทช.ภาคเหนือ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 2565
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ตรวจวัดคุณภาพน้ำบ่อเลี้ยงปลานิลให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล